Blog & Review

ต่อเติมบ้านอย่างไรให้ถูกกฎหมายและไม่ผิดใจกับเพื่อนบ้าน || Home Knowledge

By Admin | 1 มิถุนายน 2564

การต่อเติมบ้าน นอกจากจะกังวลเรื่องงบประมาณ ผู้รับเหมาจะทิ้งงานไหม เรายังต้องคิดถึงข้อกฎหมายและเพื่อนบ้านรอบ ๆ โดยเฉพาะการต่อเติมบ้านทาวน์โฮม ว่าจะทำให้ทัศนียภาพของบ้านเพื่อนบ้านเสียหาย หรือได้รับผลกระทบจากการต่อเติมของบ้านเรามากน้อยแค่ไหน ทีมงาน อัคร บ้านแและที่ดิน จึงรวบรวมข้อมูลต่อเติมบ้านอย่างไรให้ถูกกฎหมายและไม่ผิดใจกับเพื่อนบ้านมาให้ได้รับชมกัน

 

ก่อนที่จะต่อเติม ต้องรู้ว่าในกฎหมายให้ต่อเติมได้แค่ไหน

ใน พรบ. ควบคุมอาคาร จะเรียกการต่อเติมว่า “ดัดแปลง” โดยมีความหมายเปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดสวนน้ำหนักเนื้อที่ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซมหรือการดัดแปลง ที่กําหนดในกฎกระทรวง ดังนั้นทาวน์โฮมที่นิยมต่อเติมครัวหลังบ้าน ถือว่าเป็นการดัดแปลงตาม พรบ.ควบคุมอาคาร

ต้องขออนุญาติก่อนต่อเติม ในพรบ.ควบคุมอาคาร มาตรา21 กล่าวไว้ว่า ต้องได้รับใบอนุญาติจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนถึงจะทำการดัดแปลงอาคาร หรือยื่นเอกสารแบบแปลน ชื่อสถาปนิก และวิศวกรให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ

แต่ หากต่อเติม ดัดแปลงไม่เกินตามข้อมูลด้านล่างนี้ ถือว่าไม่เข้าข่ายดัดแปลงไม่ต้องขออนุญาติ

มีการอนุโลมให้สามารถดัดแปลงได้บางอย่างโดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาติ ยึดตามกฎกระทรวง

ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ดังนี้

1.การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุ ขนาด จํานวนและชนิดเดียวกับ ของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เปนคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ

2.การลดหรือการขยายเนื้อที่ของพื้นชั้นหนึ่งชั้นใด ให้มีเนื้อที่น้อยลงหรือมากขึ้น รวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจํานวนเสาหรือคาน

3.การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคา ให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจํานวนเสาหรือคาน

4.การเปลี่ยนส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม หรือวัสดุชนิดอื่นซึ่งไม่เปนการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมเกินร้อยละ 10

5. การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยายซึ่งลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละ 10

 

ต้องเข้าใจในระยะร่นของเขตที่ดินกับส่วนที่ต่อเติม

ระยะร่นคือระยะที่ว่างระหว่างเขตที่ดินกับส่วนที่เราต่อเติม ปกติแล้วกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) กล่าวไว้ว่า ผนังที่มีช่องแสงไม่ว่าจะเป็นหน้าต่าง ช่องลม บล็อคแก้ว จะต้องมีระยะห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร หรือผนังทึบสามารถมีระยะห่างได้ไม่น้อยกว่า 0.5 เมตร หากต้องการสร้างผนังชิดกับเขตที่ดินจะเป็นต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร

 

ดังนั้นหากเราต้องการที่จะต่อเติมควรบอกกล่าวเพื่อนบ้านให้รับรู้ไว้ก่อนจะดีกว่า หากเพื่อนบ้านไม่พอใจที่เราต่อเติมอาจจะทำให้มีปัญหาภายหลังได้ โดยสามารถนำกฎหมายการต่อเติมไปเป็นแนวทางในการออกแบบส่วนต่าง ๆ ที่จะต่อเติมเพิ่มจะเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณและเพื่อนบ้านด้วย หรือสามารถเข้าดูไอเดียต่อเติมบ้านจากทีมงานอัคร บ้านและที่ดินได้ที่ >> https://bit.ly/3ynQxb9

 

อยากมีบ้านปรึกษาเรา AKRA LandandHouse

Facebook : www.facebook.com/AKRALandandHouse

ติดต่อเข้าชมโครงการได้ทุกวันตั้งแต่ 09.00 - 18.00 น.

สอบถามเพิ่มเติมโทร. 083-051-8008

Line : http://bit.ly/AKRALandandHouse